8/6/54

ปรางค์กู่


เที่ยวบึงเกลือเล่นน้ำให้ฉ่ำปอดแล้ว เราก็เตรียมตัวไปเที่ยวที่อื่นต่อ แหล่งที่ผมจะพาไปเที่ยวเป็นเขตแดนติดกับอำเภอเสลภูมิ นั่นก็คืออำเภอธวัชบุรีนั่นเอง แหล่งที่แนะนำคือ ปรางค์กู่ เอาหล่ะครับตามผมมาได้เลย

ในภาคอีสานมีปราสาทหินสมัย​​ขอมจำนวนหนึ่งที่นักวิชาการสมัยหลังค้นคว้าและ สันนิษฐานไว้ว่าคือ"อโรคยาศาล"หรือ"โรงพยาบาล" สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรกัมพูชาโบราณอาคารที่เรียกว่า"อโรคยาศาล" หรือที่เป็นตัวสถานที่รักษาพยาบาลจริงๆนั้นคงทำด้วยไม้ และหักพังสูญสลายไปหมดแล้วคงเหลือแต่เพียงวิหารหรือ"พระหอ"ประจำโรงพยาบาลไว้ให้เราเห็นอันเป็นสถานที่สถิตของพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นหมอยาหรือ"พระไภษชัยคุรุไวฑูรยะประภาตถาคต" ที่อำเภอธวัชบุรีจังหวัดร้อยเอ็ด ก็มี "อโรคยาศาล" อยู่แห่งหนึ่งด้วยปัจจุบันได้รับการขุดแต่งและบูรณะแล้วและในเมืองโบราณ -- สยามโบราณก็ได้นำไปจำลองสร้างไว้เป็นตัวแทนของเมืองร้อยเอ็ดด้วย
 ปรางค์กู่หรือปราสาทหนองกู่ ตั้งอยู่ที่บ้านยางกู่ ตำบลมะอี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด การเดินทางจากตัวเมืองร้อยเอ็ด ใช้ทางหลวงหมายเลข 23 (ร้อยเอ็ด -- ยโสธร) ประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงที่ว่าการอำเภอธวัชบุรีฝั่งตรงข้ามมีทางแยกซ้ายไปปรางค์กู่ระยะ ทาง 6 กิโลเมตรหรือใช้ทางหลวง หมายเลข 2044 (ร้อยเอ็ด -- โพนทอง) ไปประมาณ 8 กิโลเมตร ก่อนที่จะถึงสนามบินเมืองร้อยเอ็ด มีทางแยกขวาไปปรางค์กู่อีก 1 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางเข้าตลอดเส้นทาง
ปรางค์กู่คือกลุ่มอาคารที่ มีลักษณะแบบเดียวกันกับอาคารที่เชื่อกันว่าคืออโรคยาศาลตามที่ปรากฏในจารึก ปราสาทตาพรหมอั​​นประกอบด้วยปรางค์ประธานบรรณาลัยกำแพงพร้อมซุ้มประตูและสระน้ำนอกกำแพงโดยทั่วไปนับว่าคงสภาพเดิมพอควรโดยเฉพาะปรางค์ประธานชั้นหลังคาคงเหลือ 3 ชั้นและมีฐานบัวยอดปรางค์อยู่ตอนบนอาคารอื่นๆแม้หักพัง แต่ทางวัดก็ได้จัดบริเวณให้ดูตาร่มรื่นสะอาด


นอกจากนี้ภายในกำแพงด้านหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ยังพบโบราณ วัตถุอีกหลายชิ้นวางเก็บรักษาไว้ใต้อาคารไม้ ได้แก่ ทับหลังหินทรายสลักเป็นภาพบุคคลนั่งบนหลังช้างหรือวัวภายในซุ้มเรือนแก้วหน้ากาล จากการสอบถามเจ้าอาวาสวัดศรีรัตนารามกล่าวว่า เป็นทับหลังหน้าประตูมุขของปรางค์ประธานประตูเสากรอบ 2 ชิ้นชิ้นหนึ่งมีภาพสลักรูปฤาษีที่โคนเสาศิวลึงค์ขนาดใหญ่พร้อมฐานที่ได้จาก ทุ่งนาด้านนอกออกไปและชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ซึ่งถูกดัดแปลงเป็นฐานของพระ สังกัจจายน์ปูนปั้นกำหนดอายุว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 18


ติดต่อรายละเอียดสอบถามเส้นทางได้ที่ อบต.ตำบลมะอึ (แปลว่าฟักทอง)  อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด  e-mail : info@prangku.com  โทรศัพท์/ โทรสาร : 0-4361-1078

ท้ายบทความเช่นเคยครับชมภาพสวยๆกัน 









0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น