12/6/54

ศูนย์พิพิธภัณฑ์แห่งชาติจังหวัดร้อยเอ็ด


บทความที่แล้วผมได้แนะนำที่ท่องเที่ยววัดบูรพาภิราม และสำหรับบทความนี้ผมจะขอแนะนำที่ท่องเที่ยวไม่ไกลกันนัก แหล่งที่ท่องเที่ยวที่ผมกำลังจะพูดถึงคือ ศูนย์พิพิธภัณฑ์แห่งชาติจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งอยู่หัวมุมตรงถนน เพลินจิต เยื้องๆกับโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยนั่นเองครับ

ศูนย์พิพิธภัณฑ์แห่งชาติจังหวัดร้อยเอ็ด จัดตั้งขึ้นตามโครงการการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำเมืองเป็นสถานที่จัดแสดงและรวบรวมเรื่องราวน่ารู้ทุกด้านของจังหวัด เดิมที่เดียวนั้นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ดจัดตั้งขึ้นตามดำริของท่าน ศาสตราจารย์ดร. ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ ในอันที่จะเป็น พิพิธภัณฑ์ฯ ศิลปหัตถกรรมอีสาน โดยเฉพาะผ้าไหมและผ้าพื้นเมือง ต่อมาเมื่อกรมศิลปกรมีนโยบายในการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองจึงได้ทำการปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาในการจัดแสดงให้ครอบคลุมข้อมูลเรื่องราวของจังหวัดทุกด้าน ทั้งด้านภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรณี โบราณคดีประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญวิถีชีวิตประเพณีและศิลปหัตถรรมเริ่มโครงการจัดตั้งมาตั้งแต่งบประมาณ 2536 ซึ่งเป็นปีที่ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารต่อเนื่องมา  

จนกระทั่งปี 2540 จึงดำเนินการได้แล้วเสร็จสมบูรณ์ประกอบด้วยงบประมาณจัดด้านการ แสดงนิทรรศการถาวรปรับสภาพภูมิทัศน์ติดตั้งระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศ จัดทำห้องประชุมและนิทรรศการพิเศษปรับปรุงบ้านพักเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้เฉพาะการจัดแสดงได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม ได้แก่ ระบบสารสนเทศการทำหุ่นจำลองและฉากชีวิตต่าง ๆ เข้า มาประกอบการนำเสนอเรื่องราวทำให้อาจกล่าวได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติที่ทันสมัย​​ที่สุดแห่งหนึ่งในความดูแลของกรมศิลปากร

โบราณวัตถุ : ชิ้นส่วนเครื่องประดับ, แผ่นทองและใบไม้ทองคำ, แม่พิมพ์เครื่องประดับ, ฝาปิดภาชนะ, ภาชนะบรรจุกระดูก, กระดิ่งสำริด

   
roi-et21.jpg (7352 bytes) ชื่อ ชิ้นส่วนเครื่องประดับ ทำเป็นรูปพญานาคห้าเศียรเล็กๆ มีเครื่องประดับคล้ายกระบังหน้าสวมอยู่เหนือเศียรแต่ละเศียร อาจเป็นชิ้นส่วนของเครื่องประดับที่ใช้ตกแต่งประติมากรม พร้อมรูปเคารพในศาสนสถาน ส่วนใหญ่มักพบในบริเวณสำคัญ เช่น ภายในคูหาปรางค์หรือห้องครรภคฤหะหรือช่องกรุเล็กๆ ภายใต้ฐานประติมากรรม
ขนาด สูง 3 เซนติเมตร
อายุสมัย ศิลปะขอมแบบเกลียงหรือบาปวน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17   
วัสดุที่ทำ ทองคำ
ประวัติวัตถุ ได้จากการขุดแต่งบูรณะกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
        
roi-et22.jpg (5223 bytes) ชื่อ แผ่นทองและใบไม้ทองคำ ใช้เป็นเครื่องประกอบการวางศิลาฤกษ์อาคาร ส่วนใหญ่มักทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือรูปใบไม้ ดุนหรือสลักลวดลายเป็นรูปดอกไม้ 8 กลีบ สิ่งของหรือตัวอักษร
ขนาด -
อายุสมัย ศิลปะขอม อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17
วัสดุที่ทำ ทองคำ
ประวัติวัตถุ ได้จากการขุดแต่งบูรณะกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
 
roi-et25.jpg (4875 bytes) ชื่อ แม่พิมพ์เครื่องประดับ ลักษณะเป็นแม่พิมพ์แบบประกบกัน 2 ชิ้น สำหรับการหล่อตัน ใช้หล่อเครื่องประดับ เช่น ตุ้มหู และเครื่องประดับชิ้นเล็กๆ สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งทำจากทอง เงิน หรือดีบุก สมัยฟูนันและทวารวดี เครื่องประดับเหล่านี้แม้จะเริ่มทำมาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 8 - 15 แต่มีความเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
ขนาด -
อายุสมัย ศิลปะทวารวดี อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 13 - 15
วัสดุที่ทำ หินทราย
ประวัติวัตถุ พบที่บ้านเมืองไพร อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด นายวีระ วุฒิจำนงค์ ผู้ทรงคุณวุฒิจังหวัดร้อยเอ็ดมอบให้
       
roi-et24.jpg (4672 bytes) ชื่อ ฝาปิดภาชนะ ลักษณะเป็นแผ่นกลม มีหูจับด้านบน ปั้นจากดินเนื้อหยาบ เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ สันนิษฐานว่าใช้ปิดปากภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ ในพิธีกรรมการฝังศพครั้งที่ 2 แผ่นดินเผาเช่นนี้พบน้อยมากในแหล่งโบราณคดีอื่นๆ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 23 เซนติเมตร
อายุสมัย -
วัสดุที่ทำ ดินเผา
ประวัติวัตถุ พบที่แหล่งโบราณคดีโนนกระด้อง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
    
roi-et23.jpg (4369 bytes) ชื่อ ภาชนะบรรจุกระดูก ลักษณะเป็นหม้อก้นกลม ปากกว้าง มีขอบปาก ปั้นขึ้นด้วยมือ เนื้อหยาบ ผิวสีนวล เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ ใช้สำหรับบรรจุกระดูกในประเพณีการฝังศพครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่แพร่หลายในเขตลุ่มแม่น้ำมูล และแม่น้ำชี โดยครั้งแรกจะนำศพไปฝังให้เน่าเปื่อยก่อน ต่อมาจึงจะขุดกระดูกขึ้นมาแยกส่วนบรรจุลงในภาชนะดินเผา แล้วนำไปฝังอีกครั้ง
ขนาด สูง 46 เซนติเมตร
อายุสมัย ก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 1,800 - 2,500 ปี
วัสดุที่ทำ ดินเผา
ประวัติวัตถุ พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านดงเมืองจอก ตำบลศรีโตคร อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
     
roi-et28.jpg (3189 bytes) ชื่อ กระดิ่งสำริด เทคนิคการหล่อแบบปั้นหุ่นสำรอกขี้ผึ้ง (Lost Wax Method) ตกแต่งด้วยลายเกลียวเชือกที่ขอบ และลายรูปตัววี ปลายม้วนกลมซ้อนกัน 2 ชั้น ใช้แขวนคอสัตว์
ขนาด -
อายุสมัย สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 1,800 - 2,500 ปี
วัสดุที่ทำ สำริด
ประวัติวัตถุ พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านดอกล้ำ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด
   
roi-et29.jpg (3492 bytes) ชื่อ กระดิ่งสำริด
ขนาด สูง 17 เซนติเมตร
อายุสมัย ศิลปะขอม อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 - 18
วัสดุที่ทำ สำริด
ประวัติวัตถุ พบในเขตอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
   
เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์-อังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชมคนไทย 10 บาท คนต่างชาติ 30 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 043-514-456

ถ้าท่านได้แวะเข้ามาชมสถานที่แห่งนี้แล้ว นอกจากท่านจะได้รับความเพลิดเพลินท่านยังจะได้รับความรู้ทางด้านวัฒนธรรมต่างๆของภาคอีสานอีกด้วย

9/6/54

วัดบูรพาภิราม


ถ้าจะพูดถึงสัญลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ดแล้ว คนจะรู้จักบึงพลาญชัย นอกจากบึงพลาญชัยเป็นสัญลักษณ์แล้วก็ยังมี หลวงพ่อโต เรียกอีกชื่อคือ หลวงพ่อใหญ่ เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ดเช่นเดียวกัน และหลวงพ่อโตได้ประดิษสัณฐานที่ วัดบูรพาภิราม ครับ ตอนที่ผมเข้ามาเรียนหนังสือในเมืองร้อยเอ็ด เลิกเรียนทุกวันผมจะมานั่งรอรถโดยสารที่หน้าวัดที่นี่ทุกครั้งเลยหล่ะ

ความเป็นมาวัดบูรพาภิราม เดิมชื่อว่า วัดหัวรอ สาเหตุที่ชื่อว่าวัดหัวรอเพราะเป็นสถานที่สำหรับรวมแขกคนในสมัยนั้นเพราะประชาชนในสมัยนั้นนิยมค้าขาย และพาหนะไม่มีจึงเดินด้วยเท้าเป็นส่วนมาก เมื่อค่ำไหนนอนนั้น วัดหัวรอจึงเป็นจุดแรกที่จะต้องพักแรมคืน ๆ แรกของการเดินทาง จึงมักจะนัดพบกันที่วัดแห่งนี้ ในปีพุทธศักราช 2456 พระอธิการหล้า อินทวังโส จึงได้ขยายที่วัดต่อจากที่แห่งเดิมเพื่อให้กว้างยิ่งขึ้น และได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ให้สมกับที่ตั้งว่า"วัดบูรพา"ด้วยเหตุที่ว่าตั้งอยู่ในทางทิศตะวันออกของเมือง ในระยะต่อมาได้เพิ่มสร้อยของวัดเพื่อความเหมาะสมยิ่งขี้นว่า"วัดบูรพาภิราม"มาจนทุกวันนี้ซึ่งได้รับการพัฒนาสมัย"พระราชปรีชาญาณมุนี"เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
วัดบูรพาภิราม ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2456 เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ  ตั้งอยู่เลขที่ 559 ถนนผดุงพานิช ต.ในเมือง อ.เมืองร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 29 ไร่ 3 งาน 97 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 1779 อาณาเขต  ทิศเหนือจดกำแพงเมือง-ถนนสาธารณะ  ทิศใต้จดถนนผดุงพานิช ทิศตะวันออกจดกำแพงเมือง ทิศตะวันตกจดถนนสาธารณะประโยชน์

อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 11 เมตรยาว  27 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2528  ศาลาการเปรียญ กว้าง 19 เมตร ยาว 35 เมตร เป็นครึ่งไม้ 2 หลัง และตึก 8 หลัง ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2511 และศาลาบำเพ็ญกุศลจำนวน 3 หลัง สร้างด้วยคอนกรีต ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ปางประทานพร นามว่า พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี หรือ หลวงพ่อโต หรือ พระเจ้าใหญ่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2516 องค์พระนั้นสร้างขึ้นด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ความสูงขององค์พระ วัดจากพระบาทถึงยอดเกศสูงถึง 59 เมตร 20 เซนติเมตร และมีความสูงทั้งหมด 67 เมตร 85 เซนติเมตร ที่ฐานพระพุทธรูปองค์นี้มีห้องที่ใช้ในศาสนกิจและห้องพิพิธภัณฑ์จำนวนหลายห้อง  นอกจากนั้นก็ยังมี พระไสยาสน์ และ พระพุทธชินราชจำลองอยู่ภายในพระอุโบสถอีกด้วย

วัดบูรพาภิราม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายสร้างขึ้นเป็นวัดประมาณ  พ.ศ. 2340  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2481  เขตวิสุงคามสีมา  กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวง วันที่ 29 มกราคม  2531

การศึกษามี โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2485 โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2491 และศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอนเมื่อพ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบัน

ถ้าท่านแวะมาเที่ยวก็ถือโอกาสทำบุญ และขอพรจากหลวงพ่อใหญ่ด้วยนะครับ จะได้เป็นศิริมงคลแก่ตัวเราตลอดไป

บึงพลาญชัย


หลังจากที่เราเที่ยวชม ปรางค์กู่ ที่อำเภอธวัชบุรีแล้ว เราก็มุ่งตรงเข้ามาเที่ยวในตัวจังหวัดร้อยเอ็ดกันดีกว่า แหล่งที่เที่ยวอันดับต้นๆเลยคือ บึงพลาญชัย ตั้งแต่ผมเกิดมาก็ได้ยินชื่อนี้เลย (เหมือนกับชื่อดีเจสมัยก่อนที่สถานีวิทุจส.3 ชื่อชาย ชมภู คนร้อยเอ็ดรู้จักกันดี) ผมชักจะพูดนอกเรื่องอีกแล้ว หุหุหุ ...ตอนผมเป็นเด็กคุณพ่อผมท่านเคยพาผมมาเที่ยวที่นี่บ่อย ตอนนั้นผมพูดไม่ค่อยชัดเรียกบึงพลาญชัยว่า บึงกะดันไซ

บึงพลาญชัย คือสัญลักษณ์ของเมืองร้อยเอ็ด ตั้งอยู่ใจกลางเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ห่างจากสำนักงานเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดไปทางทิศเหนือ ประมาณ 300 เมตร มีลักษณะเป็นบึงน้ำจืดล้อมรอบเกาะเป็นวงกลมพื้นที่ 200,000 ตารางเมตรมีสะพานคอนกรีตเข้าสู่เกาะ 3 แห่ง ภายในเกาะกลางบึงพลาญชัยมีเกาะที่ประดิษฐานหลักเมืองพานรัฐธรรมนูญซึ่งเป็น สัญลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ดและเกาะใหญ่ที่จัดเป็นสวนสุขภาพเพื่อออกกำลัง กายและพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนบึงพลาญชัยอยู่คู่เมืองร้อยเอ็ดมาช้านานต่อมาตื้นเขินและ ได้มีการบูรณะขุดลอกให้เป็นบึงที่สวยงามตลอดมาพอสรุปได้ดังนี้

พ.ศ. 2469 (วันที่ 31 ก.ค. -- 2469-31 ม.ค. 2417) โดยการนำของอำมาตย์เอกพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ขอความร่วมมือจากราษฎรทุกอำเภอมาช่วยกันขุดลอกและทำ ถนนรอบบึงให้ชื่อว่า"ถนนสุนทรเทพกิจจารักษ์"ในปัจจุบัน ใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดระหว่าง พ.ศ. 2479-2499

 
พ.ศ. 2506 ได้มีการขุดลอกบึงให้ลึกลงโดยจ้างแรงงานคนขุดลอก

 
พ.ศ. 2509 มีการขุดลอกโดยใช้เครื่องจักรกลเข้าช่วยได้นำดินถมพื้นเกาะกลางบึงให้สูง ขึ้นและสร้างเกาะเล็ก ๆ ขึ้นทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกอีก 2 เกาะ

                
พ.ศ. 2526 ได้มีการขุดลอกบึงพลาญชัยครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์พร้อมด้วยการขุดลอกคู เมืองทุกด้านโดยการใช้เครื่องจักรกลทั้งภาครัฐบาลและเอกชนช่วยกัน โดยการนำของ นายธวัชชัย สมสมาน ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ส.ส. ร้อยเอ็ด และคณะเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ดชุด นายสุพาสน์ ธนะแพสย์ เป็นนายกเทศมนตรี นายจรัส อิฐรัตน์ และนางสมพิศ ทรัพย์
ศิริ เป็นเทศมนตรี

                พ.ศ. 2527 โดยการนำของ นายปรีชา คชพลายุกต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด และคณะเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ดชุด ของนายสุพาสน์ ธนะแพสย์ ได้ดำเนินการขุดลอกและปรับปรุงบึงพลาญชัยโดยแบ่งออกเป็น 2 คือส่วน

                
1 ส่วนที่เป็นน้ำได้สูบน้ำจากคลองรอบเมืองเข้าบึงจนเต็ม แล้วจัดทำโครงการปล่อยปลาขึ้นโดยได้รับความร่วมมือจากประมงจังหวัดร้อยเอ็ด และข้าราชการทุกสังกัดพ่อค้าประชาชนช่วยกันปัจจุบันมีปลาจำนวนมหาศาล

                
2 ส่วนที่เป็นเกาะใหญ่กลางบึงและรอบบึง ปรับปรุงเป็นสวนสุขภาพสำหรับประชาชนได้ออกกำลังกายและเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ประกอบด้วย

                                
2.1 จุดฝึกออกกำลังกาย 12 จุด

                                
2.2 จำลองสวนสัตว์

                                
2.3 ปรับปรุงถนนภายในเกาะและจัดหาม้าหินขัดจากการบริจาคของประชาชนหน่วยราชการ ทั่วไปไว้บริการนั่งพักผ่อน

                                
2.4 ปรับปรุงสวนหย่อมและเล่นสนามเด็ก

                                
2.5 สร้างประตูเข้าบึงพลาญชัย 3 ด้านด้วยการประชาชนบริจาคของ

                                
2.6 ขอบบึงพลาญชัยปลูกต้นไม้ประดับไม้ยืนต้นและทำแปลงดอกไม้มีม้านั่งหินขัดวาง เรียงรายไว้เป็นระยะโดยรอบบึงให้ความร่มรื่น

                  
ภายในเกาะกลางบึงพลาญชัยยังมีสวนสุขภาพเพื่อให้ประชาชน ได้ออกกำลังกายซึ่งคระเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ดโดยการนำของ นายสุพาสน์ ธนะแพสย์ นายกเทศมนตรีและ นายจำรัส อิฐรัตน์นางสมพิศ ทรัพย์ศิริ เทศมนตรีได้รับมอบหมายจาก คณะกรรมการพัฒนาบึงพลาญชัยจังหวัด ร้อยเอ็ดได้จัดสวนสุขภาพเพื่อประชาชนในเขตเทศบาลและจังหวัดร้อยเอ็ดโดยมี นายปรีชา คชพลายุกต์ ผู้ว่าชกรจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นผู้ให้ความสนับสนุนดำเนิน การสร้างด้วยงบประมาณเงินอุดหนุนขององค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อส.กท. ) จำนวนเงิน 200,000 บาทงบประมาณของเทศบาล 100,000 บาทนอกจากนั้นเป็นงบประมาณจากการบริจาคของประชาชน

                
สวนสุขภาพเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่มิถุนายน 2527 เสร็จ 14 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2527 ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2527 ที่โดย ฯพณฯ ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธี

                
การจัดกิจกรรมเสริมการสุขภาพใช้สวน

                
จัดกิจกรรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพทุกเช้าเวลา 05.30 -- 06.00 น เทศบาลจัดพนักงานครุเทศบาลที่มี ความสามารถด้านกีฬานำกายบริหารและออกกำลังกายประกอบดนตรีแอโรบิคด๊านซ์ซึ่ง ได้รับความสนใจจากประชาชนทั้งเยาวชนและประชาชนทั่วไปดีเป็นอย่าง

                
จัดวิทยากรคอยแนะนำการใช่จุดฝึกต่าง ๆ ภายในสวนสุขภาพและส่งเสริมประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ที่ไปออกกำลังกายแบบต่าง ๆ เช่นมวยจีนจัดสวนสัตว์จำลองและตัวอย่างสัตว์จริงเป็นต้นให้ประชาชนได้ชม เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ



                
พ.ศ. 2538 ถึงปัจจุบันบึงพลาญชัยได้รับการพัฒนาครั้งใหญ่อีกครั้งโดยการปรับปรุงพนัง กั้นดินรอบเกาะและรอบบึงทั้งหมดให้เป็นคอนกรีตเพื่อป้องกันการกัดเซาะและการ พังทลายของดินในสมัย​​นายบรรจงโฆษิตจิรนันท์ เป็นนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ดและภายใต้การสนับสนุนของ นายอนุรักษ์จุรีมาศ ส.ส. จังหวัดร้อยเอ็ด นอกจากนี้ยังได้มีการปรับปรุงพัฒนาด้านอื่น ๆ ไปพร้อม ๆ กันเช่นก่อสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทร์ทราบรมราชชนนี ปรับปรุงไม้ดอกสนามหญ้าน้ำพุเครื่องปรับปรุงคุณภาพน้ำลานกีฬาเป็นต้น

บึงพลาญชัยจึงเป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้คนต่างถิ่นรู้จักจังหวัดร้อยเอ็ดและเป็นศูนย์กลางของคนเมืองร้อยเอ็ดในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งกิจกรรมส่วนตัวกิจกรรมของครอบครัวตลอดจนกิจกรรมของภาครัฐและเอกชนทั่วไป เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ด และบึงพลาญชัยยังเป็นส่วนหนึ่งในตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด "พลาญชัย"ซึ่งมีความหมายว่าเ​​ป็นบึงน้ำใสสะอาดตั้งอยู่กลางเมืองบ่งบอกว่า ประชาชนชาวจังหวัดร้อยเอ็ดมีน้ำใจ


ถ้าท่านผ่านมาจังหวัดร้อยเอ็ดก็อย่าลืมแวะมาเที่ยวบึงพลาญชัยบ้างนะครับ ให้อาหารปลา พักผ่อนกายพักผ่อนใจกัน แล้วพบกันบทความใหม่ครับ

8/6/54

ปรางค์กู่


เที่ยวบึงเกลือเล่นน้ำให้ฉ่ำปอดแล้ว เราก็เตรียมตัวไปเที่ยวที่อื่นต่อ แหล่งที่ผมจะพาไปเที่ยวเป็นเขตแดนติดกับอำเภอเสลภูมิ นั่นก็คืออำเภอธวัชบุรีนั่นเอง แหล่งที่แนะนำคือ ปรางค์กู่ เอาหล่ะครับตามผมมาได้เลย

ในภาคอีสานมีปราสาทหินสมัย​​ขอมจำนวนหนึ่งที่นักวิชาการสมัยหลังค้นคว้าและ สันนิษฐานไว้ว่าคือ"อโรคยาศาล"หรือ"โรงพยาบาล" สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรกัมพูชาโบราณอาคารที่เรียกว่า"อโรคยาศาล" หรือที่เป็นตัวสถานที่รักษาพยาบาลจริงๆนั้นคงทำด้วยไม้ และหักพังสูญสลายไปหมดแล้วคงเหลือแต่เพียงวิหารหรือ"พระหอ"ประจำโรงพยาบาลไว้ให้เราเห็นอันเป็นสถานที่สถิตของพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นหมอยาหรือ"พระไภษชัยคุรุไวฑูรยะประภาตถาคต" ที่อำเภอธวัชบุรีจังหวัดร้อยเอ็ด ก็มี "อโรคยาศาล" อยู่แห่งหนึ่งด้วยปัจจุบันได้รับการขุดแต่งและบูรณะแล้วและในเมืองโบราณ -- สยามโบราณก็ได้นำไปจำลองสร้างไว้เป็นตัวแทนของเมืองร้อยเอ็ดด้วย
 ปรางค์กู่หรือปราสาทหนองกู่ ตั้งอยู่ที่บ้านยางกู่ ตำบลมะอี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด การเดินทางจากตัวเมืองร้อยเอ็ด ใช้ทางหลวงหมายเลข 23 (ร้อยเอ็ด -- ยโสธร) ประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงที่ว่าการอำเภอธวัชบุรีฝั่งตรงข้ามมีทางแยกซ้ายไปปรางค์กู่ระยะ ทาง 6 กิโลเมตรหรือใช้ทางหลวง หมายเลข 2044 (ร้อยเอ็ด -- โพนทอง) ไปประมาณ 8 กิโลเมตร ก่อนที่จะถึงสนามบินเมืองร้อยเอ็ด มีทางแยกขวาไปปรางค์กู่อีก 1 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางเข้าตลอดเส้นทาง
ปรางค์กู่คือกลุ่มอาคารที่ มีลักษณะแบบเดียวกันกับอาคารที่เชื่อกันว่าคืออโรคยาศาลตามที่ปรากฏในจารึก ปราสาทตาพรหมอั​​นประกอบด้วยปรางค์ประธานบรรณาลัยกำแพงพร้อมซุ้มประตูและสระน้ำนอกกำแพงโดยทั่วไปนับว่าคงสภาพเดิมพอควรโดยเฉพาะปรางค์ประธานชั้นหลังคาคงเหลือ 3 ชั้นและมีฐานบัวยอดปรางค์อยู่ตอนบนอาคารอื่นๆแม้หักพัง แต่ทางวัดก็ได้จัดบริเวณให้ดูตาร่มรื่นสะอาด


นอกจากนี้ภายในกำแพงด้านหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ยังพบโบราณ วัตถุอีกหลายชิ้นวางเก็บรักษาไว้ใต้อาคารไม้ ได้แก่ ทับหลังหินทรายสลักเป็นภาพบุคคลนั่งบนหลังช้างหรือวัวภายในซุ้มเรือนแก้วหน้ากาล จากการสอบถามเจ้าอาวาสวัดศรีรัตนารามกล่าวว่า เป็นทับหลังหน้าประตูมุขของปรางค์ประธานประตูเสากรอบ 2 ชิ้นชิ้นหนึ่งมีภาพสลักรูปฤาษีที่โคนเสาศิวลึงค์ขนาดใหญ่พร้อมฐานที่ได้จาก ทุ่งนาด้านนอกออกไปและชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ซึ่งถูกดัดแปลงเป็นฐานของพระ สังกัจจายน์ปูนปั้นกำหนดอายุว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 18


ติดต่อรายละเอียดสอบถามเส้นทางได้ที่ อบต.ตำบลมะอึ (แปลว่าฟักทอง)  อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด  e-mail : info@prangku.com  โทรศัพท์/ โทรสาร : 0-4361-1078

ท้ายบทความเช่นเคยครับชมภาพสวยๆกัน 









บึงเกลือ...แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์


เอ้าๆๆ..เร็วเข้าครับเร็วเข้า..เตรียมตัวเก็บข้าวเก็บของหลังจากที่เที่ยวแหลมพยอมเสร็จแล้ว ผมจะพาไปเที่ยว บึงเกลือ ที่อำเภอเสลภูมิกันต่อครับ

บึงเกลือแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ตั้งอยู่บ้านน้ำจั้นน้อย หมู่ที่ 8 ตำบลบึงเกลือ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อประมาณ 200 ปีที่ผ่านมาพื้นที่แห่งนี้เป็นที่ราบต่ำเป็นแอ่งน้ำ มีห้วยหนองเป็นจำนวนมาก เช่น หนองสร้างจั้น , หนองหวาย , หนองเบ็น เป็นต้น มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมหนาแน่น มีสัตว์ป่านานาชนิด ฤดูฝนมีน้ำไหลจากแม่น้ำยัง ห้วยวังหลวง ฤดูแล้งน้ำในแอ่งจะแห้ง ยังมีเหลือแต่หนองบึงเล็กๆ ดังกล่าว มา ในฤดูแล้งพื้นดินจะแห้งแล้ง และมีเกร็ดเกลือขึ้นทั่วไป ชาวบ้านนิยมนำมาต้มสกัดเอาเกลือไว้บริโภค ในครัวเรือน จึงเรียกบริเวณนี้ว่า " บึงเกลือ " ต่อมา กำนันสา พรมนันท์ กำนันตำบลเมืองไพร ได้ชัก ชวนชาวบ้าน และรวมกำลังชาวบ้านในตำบล ( สมัยก่อนขึ้นกับตำบลเมืองไพร ) มาขุดปิดทำนบ ตรงที่มีน้ำไหลเข้าออกบึงเกลือ หรือเรียกว่า " ปากยังหลง " เพื่อกักน้ำไว้ใช้ในพื้นที่ทำการเกษตร หลายปี               

ต่อมาได้ระบายน้ำจากบึงเกลือเพื่อกำจัด ผักตบชวา และได้ทำการปิดไว้อย่างเดิม มีการขุดซ่อมแซม อยู่ทุกๆปี จึงทำให้น้ำขังเป็นบริเวณกว้าง บริเวณที่เป็นป่าไม้ถูกน้ำท่วมตายไป สัตว์ป่าอพยพหนี บริเวณ ที่ชาวบ้านต้มเกลือถูกน้ำท่วมหมด สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆปลาชุกชุมมาก จนทำให้นกแร้งมากินปลาใน ช่วงน้ำแห้ง จนมีชื่อหมู่บ้านที่อยู่ใกล้บึงนี้ชื่อว่า " อีแร้ง " หรือ " บ้านแฮ้ง " ( บ้านหัวคูในปัจุบัน )

ต่อมา พ.ศ. 2528 กรมชลประทานได้สำรวจบึงเกลือปี 2531 - 2532 ได้งบประมาณเพื่อทำฝาย ตลอดแนวจากบ้านน้ำจั้นน้อย ถึงบ้านโนนสวรรค์ เพื่อใช้กักเก็บน้ำ และเป็นเส้นทางคมนาคม พร้อมทำ ฝายระบายน้ำที่ปากบึงเกลือ พ.ศ. 2537 - 2538 ได้งบประมาณเพิ่มเติม จึงขยายคันดินให้มั่นคง ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำบึงเกลือมีพื้นที่ประมาณ 7,500 ไร่ อยู่ในเขตตำบลบึงเกลือเป็นส่วนใหญ่ และบางส่วน ของตำบลวังหลวง ลักษณะทางน้ำเป็นน้ำจืด ไม่มีน้ำเค็ม ฝั่งน้ำทางทิศตะวันตกมีหาดทรายยาวประมาณ เกือบ 1 กิโลเมตร มีสัตว์น้ำนานาชนิด เป็นแหล่งอนุรักษ์นกเป็นน้ำ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของ จังหวัดร้อยเอ็ด

โดยเฉพาะช่วงเทศกาลต่างๆ วันหยุดจะมีผู้คนมาท่องเที่ยวที่บึงแห่งนี้เป็นจำนวนมาก เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สัมผัสบรรยากาศสดใสเป็นธรรมชาติ มีร้านอาหาร แพอาหารให้บริการ ตลอดวัน มีทิวทัศน์ที่สวยงาม อากาศบริสุทธิ์ มีเรือสกุ๊ตเตอร์ลากบานาน่าโบท จักรยานน้ำ เรือพาย ไว้บริการนักท่องเที่ยว บรรยากาศที่เป็นทรายหาดคล้ายทะเล จนได้ชื่อว่า " บึงเกลือทะเลอีสาน " มาจนถึงปัจจุบันนี้ ยินดีต้อนรับทุกท่านสัมผัสบรรยากาศธรรมชาติที่บึงเกลือทะเลอีสาน
อ่างเก็บน้ำบึงเกลือ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดร้อยเอ็ด และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชม ในแต่ละปีเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะเทสกาลสงกรานต์จะมีนักท่องเที่ยวมากเป็นพิเศษ ทำให้มีผู้ประกอบการร้านค้าและแพอาหารเป็นจำนวนมาก ทำให้ราษฎรมีอาชีพ และก่อให้รายได้ขึ้น มีการค้าขายเพิ่มรายได้ ขอแนะนำอ่างเก็บน้ำบึงเกลือแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สัมผัสวิถีชีวิตชาวชนบทอย่างแท้จริง

การเดินทาง จากอำเภอเมืองร้อยเอ็ด ไปตามทางหลวงหมายเลข 23ผ่านอำเภอธวัชบุรี จากอำเภอเสลภูมิประมาณ 1 กิโลเมตร และเลี้ยวซ้ายทางไปบ้านเมืองไพร 8 กิโลเมตร ก็จะถึงแหล่งที่เที่ยวบึงเกลือพอดี

สถานที่สอบถาม แหล่งท่องเที่ยวบึงเกลือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ บ้านน้ำจั้นน้อยหมู่ที่ 8 ตำบลบึงเกลือ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 45120 โทรศัพท์ 043-611087

เอาหล่ะครับ ผมพาท่านมาถึงบึงเกลือแล้วเที่ยวให้สนุกมีความสุขมากๆนะคร้บ (ส่วนผมขอตัวไปนอนสักตื่นก่อน..555)

7/6/54

แหลมพยอม


หลายๆบทความที่ผ่านมาผมได้แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวจากอำเภอหนองพอก แหล่งท่องเที่ยวที่ผมแนะนำก็มีหลายที่เช่น พระมหาเจดีย์ชัยมงคล (ผาน้ำย้อย) น้ำตกถ้ำโสดา อ่างเก็บน้ำห้วยพุงใหญ่ และสวนพฤกษศาสตร์วรรณคดี เป็นต้น มาถึงบทความนี้ผมจะพาท่านลงจากเทือกเขาเขียวจะพาไปเที่ยวที่อำเภอโพนทองกัน ที่ๆผมจะแนะนำแหล่งที่ท่องเที่ยวของอำเภอโพนทองคือ แหลมพยอม นั่นเอง

แหลมพยอม หรือเรียกอีกชื่อว่า บึงโพนทอง

แหลมพยอม ตั้งอยู่บ้านเกษตร ตำบลแวง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด เส้นทางสาย อำเภอโพนทอง - อำเภอหนองพอก อยู่บริเวณทิศตะวันออกของบึงโพนทอง เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ 700 ไร่ เป็นแหล่งเพาะและขยายพันธุ์ปลา เป็นสถานที่จัดงานประเพณีลอยกระทง อยู่ห่างจากอำเภอโพนทอง 2 กิโลเมตร เส้นทางออกมาจากตัวอำเภอผ่าน โรงเรียนโพนทองวิทยายายน และวิทยาลัยการอาชีพโพนทอง ประมาณ 150 เมตรเลยปั๊มน้ำมันด้านขวามือก็จะเห็นป้ายบอก เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 1 กม. ก็ถึงแหลมพยอมพอดี

ถ้าท่านอยากจะพักผ่อนสักคืน บริเวณแหลมพยอมก็มีรีสอร์ทเปิดบริการให้ท่านเลือกตามอัธยาศรัย ผมขอแถมนิดเรื่องอาหารราคาค่อนข้างแพงเอาเรื่องเหมือนกัน แต่รสชาดก็พอใช้ได้ ถ้าจะให้ผมแนะนำร้านอาหารแถวๆใกล้เคียงแหลมพยอมนั้น ให้ท่านกลับออกมาถึงปากทางเข้าแหลมพยอม ตรงข้ามถนนใหญ่เยื้องๆปากทางเข้าจะมีร้านขายลาบเป็ดต้มเป็ดขายดีและอร่อยมากราคาไม่แพง ในอำเภอโพนทองมีร้านนี้แหล่ะขายดีที่สุดและยังมีอาหารอีกมากมายให้ท่านได้เลือกทาน

แหลมพยอม มีธรรมชาติที่สวยงามเต็มไปด้วย นก ปลา หลากชนิด จึงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ชาวอำเภอโพนทองและจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดใกล้เคียงนิยมมา”กินข้าวป่า” หมายถึงการปิกนิค ปู เสื่อชมธรรมชาติ ทำอาหารรับประทานกันเองในหมู่ ญาติหรือเพื่อนฝูง ในช่วงเทศกาลสงกรานต์แหลมพยอม จะมีประชาชนมากมายมาเล่นสาดน้ำสงกรานต์ตามประเพณี อย่างสนุกสนาน

สถานที่ติดต่อ
 สอบถามรายละเอียดที่ สำนักงาน ททท. ภาค.ตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3 โทร. 0-4324-4498-9 หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร.1672

สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดี

เอาหล่ะครับได้เวลาเขียนบทความเรื่อง สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดี ซะที หลังจากที่ไปเที่ยวน้ำตกและนั่งเรือชมเขื่อนแถมได้ทานปลาเผาอร่อยๆมาแล้ว ที่นี้เราก็กลับมาเริ่มต้นกันที่พระมหาเจดีย์ชัยมงคลกันเลย เอาแบบง่ายๆถ้าท่านยืนอยู่ตรงบันไดด้านนอก (บันไดตรงที่เราจะเดินเข้าประตูเพื่อจะเข้าชมพระมหาเจดีย์) ถ้าท่านยืนหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ท่านก็จะเห็นเส้นทางที่จะไป สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดี พอดีเลยครับ ถนนเส้นนี้ระยะทางจากหน้าพระมหาเจดีย์ถึงสวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีไปตามสันหลังเขาเขียวระยะทางน่าจะประมาณ 9 กม. มีช่วงนึงผมเคยเดินด้วยเท้านี่แหล่ะไปเที่ยวกับเพื่อนเริ่มต้นเดินตรงหน้าพระมหาเจดีย์ (ตอนนั้นพระมหาเจดีย์กำลังเริ่มก่อสร้างใหม่ๆกำลังปรับพื้นที่) ชมนกชมต้นไม้ถ่ายรูปเดินไปเรื่อยๆจนถึงสวนพฤกษศาสตร์ก็ใช้เวลานานเหมือนกัน สภาพของป่ายังอุดมสมบูรณ์ ต้นไม้ที่สังเกตุเห็นมี ต้นมะค่าโมง ต้นกะบาก ต้นยาง ต้นแดง ต้นจิก ต้นรัง ต้นตะเคียน และอื่นๆอีกมากครับ

   ถ้าท่านเดินทางออกมาจากจุดเริ่มต้น ประมาณ 100-200 เมตร ถ้าท่านสังเกตุท่านจะเห็นถนนย่อยแยกออกเป็นซอยทั้งด้านซ้ายและขวาท่านจะเห็นกุฏิหลังเล็กๆห่างกันออกไปทีละ 100-200 เมตร กุฏิต่างๆจะปลูกสร้างเรียงรายไปตามถนนเส้นนี้เป็นระยะน่าจะประมาณหลายร้อยหลังได้ คงจะสร้างไว้สำหรับให้พระสายธรรมยุตที่มาจำพรรษาที่ปลีกวิเวกนั่งวิปัสนากรรมฐาน (ปัจจุบันผมไม่แน่ใจว่าจะเหลือกี่หลัง) แต่ก่อนเส้นทางนี้บางช่วงจะเป็นดินทรายสลับกับหินและดินแข็ง ทุกวันนี้ถนนทำดีกว่าเดิมแล้ว สองข้างทางถ้าท่านสังเกตุ ท่านจะเห็นค้างคาวห้อยหัวนอนตามต้นไม้พุ่มไม่ใหญ่และต้นไม่ที่ไม่สูงเท่าไหร่ จะเห็นห้อยหัวลงนอนเรียงกันตามกิ่งไม้กิ่งหล่ะ 40-60 ตัว ดูแล้วก็เพลินดีเหมือนกันนานๆจะได้เห็นแบบนี้ที

  ตามเส้นทางที่จะไปเที่ยวสวนนี้ ก่อนที่จะไปถึงสวนพฤกษศาสตร์วรรณคดี ก็ยังมีแหล่งท่องเที่ยวหลายที่นะครับแต่คนส่วนมากไม่ค่อยพูดถึง สวยๆทั้งนั้น อาทิเช่น ผาน้ำจ้าก สวยมากมองจากตรงหน้าผาแห่งนี้จะเห็นถึง วัดภูจ้อก้อ (วัดของหลวงปู่หล้าอริยสงฆ์สายธรรมยุตที่น่านับถือ) ถ้าท่านมีเวลาก็แวะเที่ยวผาน้ำจ้ากด้วยนะครับ นอกจากนั้นก็ยังมีที่เที่ยวอีก 2-3 แห่ง ตามเส้นทางจะมีป้ายบอกชื่อสถานที่เที่ยวอยู่ครับ ฝอยมาตั้งนานยังไม่ถึงสวนพฤกษศาตร์วรรณคดี(จั๊กเทือเลย..555) เข้าเรื่องซะที

สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดี

 ประวัติความเป็นมา   
สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดี ตั้งอยู่ที่ตำบล ผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด  ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2530 โดยสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงพระเจริญ พระชนมพรรษา ครบ 60 พรรษา ที่บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าดงมะอี่ อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,000 ไร่ เป็นเนื้อที่สำหรับ ปลูกต้นไม้แบ่งตามวรรณคดี เช่น เรื่องพระเวสสัดร ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเบงพ่าย ลานพุทธประวัติ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรแยกตามสรรพคุณ บริเวณสวนมีสภาพภูมิประเทศสวยงาม ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้โอนให้กรมป่าไม้ดูแลรักษาต่อ ในปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช   
สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดี เป็นแหล่งรวบรวมพรรณพืชที่มีชีวิต ซึ่งเป็นพืชประจำถิ่นหรือนำมาปลูกจากต่างถิ่น เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพืช ภายในสวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีมีการปลูกพืชอย่างมีระบบเป็นหมวดหมู่ ทั้งด้านอนุกรมวิธานและการใช้ประโยชน์ มีการปลูกเพิ่มจำนวนชนิดพืชอยู่ตลอดเวลา พืชที่รวบรวมไว้นั้นมีทั้งพืชถิ่นเดียว พืชหายากและใกล้สูญพันธุ์ เพื่อการจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติด้านพืชอย่างยั่งยืน สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดียังเปิดกว้างในการศึกษาหาความรู้แก่สาธารณชน เป็นดุจดังพิพิธภัณฑ์ให้แก่ผู้ที่มาเยือน ได้ทุกเพศทุกวันและทุกระดับความรู้ เพื่อจะเรียนรู้และชื่นชมต่อธรรมชาติสวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีมีความสำคัญในแง่ของการ อนุรักษ์พันธุ์พืช เป็นสิ่งจำเป็นที่จะให้คนท้องถิ่นได้รู้จักสังคมพืชและพืชประจำถิ่น เพื่อให้ทราบถึงประโยชน์ของพืชประจำถิ่นที่จะพัฒนาท้องถิ่นได้ในอนาคต สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีจึงจัดได้ว่าเป็นประตูสู่วิทยาศาสตร์ การศึกษาและการอนุรักษ์ในอาณาจักรพืช

การจัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์วรรณคดี พยายามเลือกพื้นที่ป่าสงวนที่มีหย่อมป่าดั่งเดิมประกอบด้วยไม้ใหญ่น้อยเหลือ อยู่บ้าง ทั้งนี้เพื่อประหยัดงบประมาณ ในการลงทุนจัดตั้งในระยะแรก ซึ่งค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งนี้จะสูงมาก ถ้าไปเลือกพื้นที่โล่งเตียนปราศจากพรรณพืช ภายในสวนพฤกษศาสตร์มีการจัดปลูกต้นไม้ ไม้พุ่ม ไม้เถา พืชล้มลุก แทรกลงในหย่อมป่าเดิมให้เป็นหมวดหมู่ ตามวงศ์ สกุลต่างๆ หรือจัดปลูกพรรณไม้ตามวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ ได้แก่ แปลงพืชสมุนไพร แปลงปาล์ม แปลงไทร-มะเดื่อ แปลงไม้สน แปลงไผ่ แปลงหวาย เป็นต้น พร้อมติดป้ายชื่อพฤกษศาสตร์วรรณคดีและถิ่นกำเนิดของพืชไว้อย่างเด่นชัด

ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่ตั้งอยู่เชิงเทือกเขาภูเขียว ระดับความสูง 340-400 เมตร สภาพป็นป่าเบญจพรรณและป่าที่กำลังฟื้นสภาพ ดินเป็นดินทรายชุดโคราช พรรณไม้ส่วนใหญ่เป็นพรรณไม้ในป่าเบญจพรรณ ได้แก่ ตะเคียนมอง เขลง มะหาด พะยูง คอแลน มะค่า ยาง แดง จิก รัง ประดู่ ฯลฯ

การคมนาคม

สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดี ตั้งอยู่ที่ตำบล ผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ไป ตามถนนสายจังหวัด ร้อยเอ็ด-อำเภอหนองพอก ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวจังหวัด อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 21 กม. และอยู่ห่างจากตัว จังหวัดประมาณ 94 กม.

 เป็นอย่างไรครับท่านอ่านบทความมาถึงบรรทัดจะบรรทัดสุดท้ายแล้ว เมื่อยสายตาไหม ผมหวังว่าบทความนี้อาจจะมีประโยชน์และเพลิดเพลินได้บ้างนะคับ









 




6/6/54

อ่างเก็บน้ำห้วยพุงใหญ่

หุหุหุ...ผมมานั่งคิดแล้วก็ตลกตัวเอง ตอนแรกผมว่าจะเขียนบทความแหล่งท่องเที่ยว สวนพฤกษาศาสตร์วรรณคดี ต่อจากบทความ น้ำตกถ้ำโสดา แต่ที่ไหนได้กลับมาเขียนเรื่อง อ่างเก็บน้ำห้วยพุงใหญ่ซะงั้น (ขออภัยมณีศรีสุวรรณสินสมุทรและสุดสาครด้วยครับท่าน ..555..) เหตุที่ผมหยิบยกเรื่องนี้มาเขียนก่อน เป็นเพราะว่าแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้อยู่ใกล้กับน้ำตกถ้ำโสดานั่นเอง ผมก็เลยรวบยอดที่เที่ยวตรงนี้ให้เสร็จสิ้นไม่ต้องวกกลับมาอีก ถ้าใครได้มาเที่ยวน้ำตกก็แวะมาเที่ยวอ่างเก็บน้ำห้วยพุงใหญ่ ล่องเรือรอบเขื่อน และตกปลา ตั้งแค้มป์นอนค้างคืนที่นี่แล้วค่อยไปเที่ยวที่อื่นต่อครับ เอาหล่ะทีนี้กลับเข้าเรื่องอ่างเก็บน้ำห้วยพุงใหญ่กันเสียที

อ่างเก็บน้ำห้วยพุงใหญ่ ตั้งอยู่ที่ บ้านนาคำข่า ต.บึงงาม อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด ถนน อ.หนองพอก-อ.เลิงนกทา เส้นทางเดียวกับ ทางไปเจดีย์ชัยมงคล ออกจาก อ.หนองพอก ประมาณ 6-7 กม.ถึงบ้านเหล่าขุมมัน(ก่อนถึงทางขึ้นเจดีย์ชัยมงคล) ให้เลี้ยวซ้าย จะเป็นทางไป ต.ภูเขาทอง ไปอีกประมาณ 8-9 กม.(ผ่านบ้านหนองแข้เท่านั้น) ถึงบ้านนาคำข่าจะมีสามแยก ให้เลี้ยวขวามีป้ายวัดรอยพระพุทธบาท ทางเข้าไปประมาณ 3-4 กม. เป็นทางคอนกรีต (ถ้ามาจากเขื่อนวังนองก็เลี้ยวซ้าย) ครับ

ปกติเขื่อนวังนองก็เป็นที่เที่ยวอีกที่แต่ผมจะไม่เล่ารายละเอียดหรอกเพราะ เขื่อนวังนองกับอ่างเก็บน้ำห้วยพุงก็เหมือนจะเป็นสถานที่เดียวกัน แต่ก็ไม่ใช่เลยทีเดียว เขื่อนวังนองจะอยู่ด้านหน้าส่วนอ่างเก็บน้ำห้วยลงพุง (อุ๊ยบ่แมนเด้อ 555) ห้วยพุงใหญ่จะอยู่ด้านในติดกลับภูเขาเขียวนะครับ แต่น้ำจากห้วยพุงใหญ่ก็จะไหลลงสู่เขื่อนวังนอง


ในบริเวณอ่างเก็บน้ำจะมี หาด แหล่งตกปลาและการประมงอยู่เต็มบริเวณอ่าง นอกจากนั้นยังเป็นทางเชื่อมต่อไปยัง น้ำตกถ้ำโสดา ซึ่งมีศูนย์บริการโอท็อปไว้บริการ และติดกับผาหมอกมิวายซึ่งมี หมอกให้เห็นตลอดทั้งปีบริเวณสันเขื่อนสามารถมองเห็นเจดีย์ชัยมงคลได้

กิจกรรมพิเศษที่นี่คือล่องเรือรอบเขื่อน หามุมสงบตกปลา โดยเฉพาะปลาชะโดและปลายี่สก จะมีแต่ตัวเขื่องๆหลายสิบกิโลถึงร้อยกิโล เหมาะที่สุดสำหรับคนที่ชอบตกปลา น่าจะหาโอกาสมาเที่ยวและมาตกปลาตั้งแค้มป์ที่นี่สักคืน อ่างเก็บน้ำห้วยพุงใหญ่เป็นสถานที่น่ามาเทียวอีกที่ ท่านจะได้ดื่มด่ำกับบรรยากาศธรรมชาติและท่านยังได้ชิมรสชาดของปลาที่นี่อีกด้วยครับ

ท้ายบทความเหมือนเดิมครับชมภาพสวยๆ