12/6/54

ศูนย์พิพิธภัณฑ์แห่งชาติจังหวัดร้อยเอ็ด


บทความที่แล้วผมได้แนะนำที่ท่องเที่ยววัดบูรพาภิราม และสำหรับบทความนี้ผมจะขอแนะนำที่ท่องเที่ยวไม่ไกลกันนัก แหล่งที่ท่องเที่ยวที่ผมกำลังจะพูดถึงคือ ศูนย์พิพิธภัณฑ์แห่งชาติจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งอยู่หัวมุมตรงถนน เพลินจิต เยื้องๆกับโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยนั่นเองครับ

ศูนย์พิพิธภัณฑ์แห่งชาติจังหวัดร้อยเอ็ด จัดตั้งขึ้นตามโครงการการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำเมืองเป็นสถานที่จัดแสดงและรวบรวมเรื่องราวน่ารู้ทุกด้านของจังหวัด เดิมที่เดียวนั้นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ดจัดตั้งขึ้นตามดำริของท่าน ศาสตราจารย์ดร. ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ ในอันที่จะเป็น พิพิธภัณฑ์ฯ ศิลปหัตถกรรมอีสาน โดยเฉพาะผ้าไหมและผ้าพื้นเมือง ต่อมาเมื่อกรมศิลปกรมีนโยบายในการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองจึงได้ทำการปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาในการจัดแสดงให้ครอบคลุมข้อมูลเรื่องราวของจังหวัดทุกด้าน ทั้งด้านภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรณี โบราณคดีประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญวิถีชีวิตประเพณีและศิลปหัตถรรมเริ่มโครงการจัดตั้งมาตั้งแต่งบประมาณ 2536 ซึ่งเป็นปีที่ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารต่อเนื่องมา  

จนกระทั่งปี 2540 จึงดำเนินการได้แล้วเสร็จสมบูรณ์ประกอบด้วยงบประมาณจัดด้านการ แสดงนิทรรศการถาวรปรับสภาพภูมิทัศน์ติดตั้งระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศ จัดทำห้องประชุมและนิทรรศการพิเศษปรับปรุงบ้านพักเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้เฉพาะการจัดแสดงได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม ได้แก่ ระบบสารสนเทศการทำหุ่นจำลองและฉากชีวิตต่าง ๆ เข้า มาประกอบการนำเสนอเรื่องราวทำให้อาจกล่าวได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติที่ทันสมัย​​ที่สุดแห่งหนึ่งในความดูแลของกรมศิลปากร

โบราณวัตถุ : ชิ้นส่วนเครื่องประดับ, แผ่นทองและใบไม้ทองคำ, แม่พิมพ์เครื่องประดับ, ฝาปิดภาชนะ, ภาชนะบรรจุกระดูก, กระดิ่งสำริด

   
roi-et21.jpg (7352 bytes) ชื่อ ชิ้นส่วนเครื่องประดับ ทำเป็นรูปพญานาคห้าเศียรเล็กๆ มีเครื่องประดับคล้ายกระบังหน้าสวมอยู่เหนือเศียรแต่ละเศียร อาจเป็นชิ้นส่วนของเครื่องประดับที่ใช้ตกแต่งประติมากรม พร้อมรูปเคารพในศาสนสถาน ส่วนใหญ่มักพบในบริเวณสำคัญ เช่น ภายในคูหาปรางค์หรือห้องครรภคฤหะหรือช่องกรุเล็กๆ ภายใต้ฐานประติมากรรม
ขนาด สูง 3 เซนติเมตร
อายุสมัย ศิลปะขอมแบบเกลียงหรือบาปวน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17   
วัสดุที่ทำ ทองคำ
ประวัติวัตถุ ได้จากการขุดแต่งบูรณะกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
        
roi-et22.jpg (5223 bytes) ชื่อ แผ่นทองและใบไม้ทองคำ ใช้เป็นเครื่องประกอบการวางศิลาฤกษ์อาคาร ส่วนใหญ่มักทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือรูปใบไม้ ดุนหรือสลักลวดลายเป็นรูปดอกไม้ 8 กลีบ สิ่งของหรือตัวอักษร
ขนาด -
อายุสมัย ศิลปะขอม อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17
วัสดุที่ทำ ทองคำ
ประวัติวัตถุ ได้จากการขุดแต่งบูรณะกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
 
roi-et25.jpg (4875 bytes) ชื่อ แม่พิมพ์เครื่องประดับ ลักษณะเป็นแม่พิมพ์แบบประกบกัน 2 ชิ้น สำหรับการหล่อตัน ใช้หล่อเครื่องประดับ เช่น ตุ้มหู และเครื่องประดับชิ้นเล็กๆ สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งทำจากทอง เงิน หรือดีบุก สมัยฟูนันและทวารวดี เครื่องประดับเหล่านี้แม้จะเริ่มทำมาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 8 - 15 แต่มีความเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
ขนาด -
อายุสมัย ศิลปะทวารวดี อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 13 - 15
วัสดุที่ทำ หินทราย
ประวัติวัตถุ พบที่บ้านเมืองไพร อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด นายวีระ วุฒิจำนงค์ ผู้ทรงคุณวุฒิจังหวัดร้อยเอ็ดมอบให้
       
roi-et24.jpg (4672 bytes) ชื่อ ฝาปิดภาชนะ ลักษณะเป็นแผ่นกลม มีหูจับด้านบน ปั้นจากดินเนื้อหยาบ เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ สันนิษฐานว่าใช้ปิดปากภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ ในพิธีกรรมการฝังศพครั้งที่ 2 แผ่นดินเผาเช่นนี้พบน้อยมากในแหล่งโบราณคดีอื่นๆ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 23 เซนติเมตร
อายุสมัย -
วัสดุที่ทำ ดินเผา
ประวัติวัตถุ พบที่แหล่งโบราณคดีโนนกระด้อง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
    
roi-et23.jpg (4369 bytes) ชื่อ ภาชนะบรรจุกระดูก ลักษณะเป็นหม้อก้นกลม ปากกว้าง มีขอบปาก ปั้นขึ้นด้วยมือ เนื้อหยาบ ผิวสีนวล เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ ใช้สำหรับบรรจุกระดูกในประเพณีการฝังศพครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่แพร่หลายในเขตลุ่มแม่น้ำมูล และแม่น้ำชี โดยครั้งแรกจะนำศพไปฝังให้เน่าเปื่อยก่อน ต่อมาจึงจะขุดกระดูกขึ้นมาแยกส่วนบรรจุลงในภาชนะดินเผา แล้วนำไปฝังอีกครั้ง
ขนาด สูง 46 เซนติเมตร
อายุสมัย ก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 1,800 - 2,500 ปี
วัสดุที่ทำ ดินเผา
ประวัติวัตถุ พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านดงเมืองจอก ตำบลศรีโตคร อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
     
roi-et28.jpg (3189 bytes) ชื่อ กระดิ่งสำริด เทคนิคการหล่อแบบปั้นหุ่นสำรอกขี้ผึ้ง (Lost Wax Method) ตกแต่งด้วยลายเกลียวเชือกที่ขอบ และลายรูปตัววี ปลายม้วนกลมซ้อนกัน 2 ชั้น ใช้แขวนคอสัตว์
ขนาด -
อายุสมัย สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 1,800 - 2,500 ปี
วัสดุที่ทำ สำริด
ประวัติวัตถุ พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านดอกล้ำ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด
   
roi-et29.jpg (3492 bytes) ชื่อ กระดิ่งสำริด
ขนาด สูง 17 เซนติเมตร
อายุสมัย ศิลปะขอม อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 - 18
วัสดุที่ทำ สำริด
ประวัติวัตถุ พบในเขตอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
   
เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์-อังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชมคนไทย 10 บาท คนต่างชาติ 30 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 043-514-456

ถ้าท่านได้แวะเข้ามาชมสถานที่แห่งนี้แล้ว นอกจากท่านจะได้รับความเพลิดเพลินท่านยังจะได้รับความรู้ทางด้านวัฒนธรรมต่างๆของภาคอีสานอีกด้วย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น